การดูแลปั๊มสุญญากาศอย่างง่ายๆ สามารถทำได้โดยการสังเกต น้ำมัน (Vacuum oil) และกรองไอเสีย (Exhaust filter) หากมีการดูแลตามคำแนะนำจะทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานของปั๊มได้นานขึ้น
น้ำมัน (Vacuum oil)
1. ตรวจสอบระดับน้ำมัน เราสามารถสังเกตระดับน้ำมันได้ที่บริเวณ sight glass ซึ่งจะระบุปริมาณที่เหมาะสมไว้ หรือใส่น้ำมันประมาณ 70 % ของปั๊ม การใส่น้ำมันมากหรือน้อยเกินไปอาจส่งผลต่อการทำงานของปั๊มในหลายๆด้าน
- หากระดับน้ำมันต่ำเกินไป อาจทำให้วาล์วไอเสียทำงานผิดปกติ เกิดการรั่วที่ซีลปั๊ม ส่งผลให้ปั๊มทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และสูญเสียความดันสุญญากาศไป
- หากระดับน้ำมันสูงเกินไป น้ำมันภายในปั๊มอาจมีแรงดันมากเกินไปในขณะที่มีโหลดสูง ส่งผลให้เกิดฟองในน้ำมัน และไอน้ำมันจำนวนมากก็จะถูกปล่อยออกมาทางด้าน outlet
2. สังเกตสีและความขุ่นที่เปลี่ยนแปลง โดยน้ำมันใหม่ ปกติจะมีลักษณะใส่ สีเหลืองอ่อน หากสีและความขุ่นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเช่น น้ำมันเริ่มขุ่น เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือสีเข้มขึ้นจากน้ำมันปกติ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันของปั๊มสุญญากาศ
3. ผู้ผลิตส่วนใหญ่แนะนำให้เปลี่ยนทุกๆ 3,000 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ หรืออาจเปลี่ยนบ่อยกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และความสกปรกของน้ำมัน
ก่อนทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน ควรเปิดปั๊มทิ้งไว้สักครู่ จากนั้นปิดเครื่อง แล้วจึงทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน เพื่อให้น้ำมันเข้าไปล้างสิ่งสกปรกที่ตกค้างภายในปั๊มก่อน หากน้ำมันที่ออกมาสกปรกมาก อาจทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันจนกว่าน้ำมันจะใสตามที่ต้องการ นี่คือสัญญาณที่บ่งชี้ว่าควรทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันให้บ่อยขึ้นในอนาคต
กรองไอเสีย (Exhaust filter)
กรองไอเสียที่มีลักษณะเป็นคราบ และเสียสภาพควรทำการเปลี่ยนใหม่ หรืออาจเปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนดตามความเหมาะสมของลักษณะงานที่ใช้ในระบบสุญญากาศ หากกรองไอเสียตันจะทำให้เกิด back pressure ส่งผลทำให้ปั๊มเสียหายได้ ข้อสังเกต คือ จะมีไอน้ำมันออกมาจากด้านoutlet
ลักษณะปัญหาที่พบซึ่งเป็นผลมาจากน้ำมันเสื่อมสภาพ
1. อัตราการทำสุญญากาศของปั๊มช้าลง เนื่องจากมีความชื้นผสมอยู่ ทำให้โมเลกุลของน้ำมันเสื่อมสภาพหรือปนเปื้อนสิ่งสกปรกอื่นๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อ vane หรือ rotor ได้
2. น้ำมันรั่วเนื่องจากน้ำมันที่เสียสภาพ ส่งผลทำให้ seal เสียสภาพไปด้วย น้ำมันจึงซึมออกมาจากตัวเครื่องได้
จุดที่อาจเกิดการรั่ว ได้แก่ ซีล (Seals), หน้าต่างวัดระดับน้ำมัน (oil level windows) และวาล์วต่างๆ การรั่วมักจะทิ้งรอยเปื้อนไว้ด้านล่างตัวปั๊มและซีลที่รั่วอาจทำให้น้ำมันไหลล่างไปที่ด้านล่างรอยรั่ว ถ้าไม่มีการซ่อมแซมอาจทำให้เพลาเสียหายได้ ซึ่งต้องเปลี่ยนให้ มีราคาแพงและเสียเวลา
3. ปั๊มทำงานเสียงดังผิดปกติไปจากเดิม
4. อุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากน้ำมันระบายความร้อนได้ไม่ดี
ทางบริษัทให้บริการหลังการขาย
- ตรวจเช็คปั๊ม 2-3เดือน ครั้ง
- Maintenance ทุกๆ1ปี
- Service Contract
ปั๊มมีปัญหา คิดถึงเรา บริษัทแสงวิทย์ 2000 จำกัด เราบริการคุณด้วยใจ