จาก Pressure-Temperature Phase Diagram นี้ จะแสดงถึงสภาวะที่สสารสามารถเปลี่ยนสถานะได้โดยมีอุณหภูมิ (Temperature) และความดัน (Pressure) มาเกี่ยวข้อง เช่น สสารที่อยู่ในสถานะก๊าซจะถูกทำให้เป็นของเหลวได้เมื่อมีการเพิ่มความดัน หรือลดอุณหภูมิลง จนกระทั่งสามารถควบแน่นเป็นของเหลวได้ แต่จะมีเหตุการณ์ที่เมื่ออุณหภูมิสูงกว่าค่าๆ หนึ่งแล้ว แม้จะเพิ่มความดันให้มากเท่าไร ก๊าซก็ไม่สามารถควบแน่นเป็นของเหลวได้
โดยอุณหภูมิสูงสุดที่ก๊าซยังสามารถควบแน่นเป็นของเหลวได้เรียกว่า อุณหภูมิวิกฤต (Critical Temperature, Tc) และความดันที่จุดนี้เรียกว่า ความดันวิกฤต (Critical pressure, Pc) เราจึงเรียกจุดที่มีอุณหภูมิเท่ากับ Tc และความดันเท่ากับ Pc ว่า จุดวิกฤต (Critical pressure, CP)
เมื่ออุณหภูมิและความดันของสสารสูงกว่า จุดวิกฤต สสารจะอยู่ในอีกสถานะหนึ่งที่ไม่ได้เป็นก๊าซหรือของเหลว (ดังรูปที่ 2) จะเรียกสสารที่อยู่ในสถานะนี้ว่า “ ของไหลวิกฤตยิ่งยวด (Supercritical fluid) ” ซึ่งค่า Tc และ Pc จะเป็นค่าคงที่ที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของสสารนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ก๊าซ CO2จะมีค่า TC = 31.1 °C และค่า Pc = 73.8 Bar ดังนั้นเมื่อ CO2 มีอุณหภูมิและความดันถึงจุดวิกฤตของตัวเองแล้ว ก็จะอยู่ในสถานะ Supercritical CO2
|