โดยมีขั้นตอนเบื้องต้น ดังนี้
1. นำวัสดุเสริมแรงวางลงในพิมพ์ เช่น Fiberglass หรือ Carbon Fiber (Graphite)
2. ทำการซีลพิมพ์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำให้เกิดสภาวะสุญญากาศด้วย Vacuum Bag
3. เปิดใช้งานปั๊มสุญญากาศเพื่อฉีดเรซินเข้าไปในพิมพ์ ซึ่งในขั้นตอนนี้ปั๊มสุญญากาศจะมีบทบาทสำคัญ คือ เมื่อปั๊มดึงอากาศในระบบออกจนเกิดความต่างของความดัน เรซินจะถูกดึงให้เคลื่อนตัวเข้าไปในชั้นการเคลือบจนเต็มพิมพ์อย่างทั่วถึง และไม่มีช่องว่างของอากาศแทรกตัว นั่นทำให้การกระจายตัวเรซินไปยังเส้นใยดีขึ้น, อัตราส่วนการรวม และการยึดเกาะดีขึ้น เรซินส่วนเกินจะถูกดูดออกและดักไว้ด้วย Resin Trap ส่งผลให้ได้ชิ้นงานที่ไม่มีเรซินเกินความจำเป็น ในทางกลับกันหากชิ้นงานมีเรซินมากเกินไปจะส่งผลให้ชิ้นงานมีน้ำหนักมาก, เปราะบาง และสิ้นเปลืองเรซินด้วย นอกจากนี้การใช้ Vacuum เข้ามาช่วยในขั้นตอนการทำงาน เรซินจะอยู่ในระบบปิดทำให้สารระเหยจากเรซินลดลง และเป็นมิตรต่อผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากจะช่วยลดการสัมผัสเรซินกับผู้ปฏิบัติงาน
4. เมื่อเรซินเคลื่อนตัวจนเต็มชิ้นงานให้ปิดปั๊ม
5. รอให้เรซินแห้งแล้วจึงสามารถแกะออกเพื่อตรวจสอบชิ้นงานต่อไป
|